สวัสดีครับ เพื่อนๆ สาวก IOT ทุกท่าน สำหรับบทความนี้จะเป็นการแนะนำการส่งข้อความเข้า LINE Notify โดยใช้บอร์ด ESP8285 ซึ่งมี WIFI ในตัว โดยอาศัย BLYNK Server เป็นสื่อกลางในการควบคุมสั่งการ โดยเราจะทำการสร้าง Switch บน Blynk Application บนมือถือ และสั่งการผ่านการกด คล้ายๆ กับเรากดสวิทต์เพื่อให้ ESP8285 ทำการส่งข้อความเข้า LINE Notify นั่นเอง
Continue reading ESP8285 ส่งข้อความเข้า LINE Notify ผ่าน BLYNK Dashboardหมวดหมู่: Blynk
สร้าง Dashboard ด้วย freeboard.io ดึงค่า จาก DHT22 ผ่าน Blynk HTTP RESTful API
สร้าง Dashboard ด้วย freeboard.io ให้ดึงค่า temperature & humidity จาก DHT22 ผ่าน Blynk HTTP RESTful API
Continue reading สร้าง Dashboard ด้วย freeboard.io ดึงค่า จาก DHT22 ผ่าน Blynk HTTP RESTful APIระบบวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
ลองทำระบบวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่บ้านดูเล่นๆ อุปกรณ์ที่ใช้ในครั้งนี้ก็คือ
- เจ้าบอร์ด ESP8285
- โมดูล DHT22
เขียนโปรแกรมด้วย Arduino ให้ส่งข้อมูลเข้า Blynk Server (โปรเจคนี้ทำตัวปิด/เปิดไฟใส่ไว้ด้วยแล้ว) จากนั้นไปสร้าง Guage และ Graph แสดงผลแบบ Realtime ดูในมือถือ ประสบความสำเร็จ ได้ผลใกล้เคียงกับเว็บของกรมอุตุนิยมและ Accuweather เลยจ้า
Continue reading ระบบวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศProject เปิด/ปิดไฟด้วย Blynk + ESP8285
สวัสดีครับสำหรับ Post นี้เราจะมาสร้าง Project เปิด/ปิดไฟด้วย Blynk ผ่านอุปกรณ์ ESP8285 กัน ซึ่งก่อนการเริ่มต้นให้ตรวจสอบก่อนว่าเรามีสิ่งที่จำเป็นครบหรือยัง ดังนี้ครับ
- บัญชีการใช้งาน Blynk Platform (ถ้ายังไม่มีสร้างฟรีได้ที่นี่)
- ค่า Auth Token จาก Blynk Project (ถ้ายังไม่มีดูขั้นตอนการสร้างที่นี่)
- WiFI SSID และ WiFi Password
- โปรแกรม Arduino IDE ที่ติดตั้ง Blynk Library เรียบร้อยแล้ว (คู่มือคลิกที่นี่)
- บอร์ด ESP8285
- สายไฟ จัมเปอร์
- หลอดไฟ LED
- บอร์ดทดลอง Breadboard
ใน Project นี้จะทำการต่อหลอด LED จำนวน 3 หลอดเข้ากับขา 2,4 และ 5 นะครับ
ขั้นตอนทั้งหมดสามารถดูจาก VDO ได้เลยครับ
Source Code ของตัวโปรแกรม
/* Comment this out to disable prints and save space */
#define BLYNK_PRINT Serial
#include <ESP8266WiFi.h>
#include <BlynkSimpleEsp8266.h>
// You should get Auth Token in the Blynk App.
// Go to the Project Settings (nut icon).
char auth[] = "YOUR-BLYNK-AUTH";
// Your WiFi credentials.
char ssid[] = "WiFi-SSID";
char pass[] = "WiFi-PASSWORD";
void setup()
{
// Debug console
Serial.begin(9600);
//Blynk.begin(auth, ssid, pass);
Blynk.begin(auth, ssid, pass,"blynk.jpnet.co.th",8080);
Blynk.syncAll();
}
void loop()
{
Blynk.run();
}
การสร้าง Project ใหม่ใน Blynk Application
ก่อนการใช้งานระบบ Blynk จำเป็นต้องทำการสร้าง Project ใหม่ใน Aplication บน SmartPhone ของเราก่อน ทั้งนี้เราสามารถเลือกอุปกรณ์และกำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อได้ และระบบจะทำการสร้าง Auth Token เพื่อนำไปใส่ในโปรแกรม Arduino IDE ต่อไป
เปิด Application Blynk ขึ้นมา เลือกที่ New Project
การดาวน์โหลดและติดตั้ง Blynk Library
หลังจากทำการติดตั้ง Blynk Application ใน SmartPhone และทำการ สร้างบัญชีการใช้งานใน Local Blynk Server (ใช้งานได้ฟรี) ของทางเราเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการดาวน์โหลดและติดตั้ง Blynk Library ลงในโปรแกรม Arduino เพื่อเริ่มใช้งานระบบต่อไป
สร้างบัญชีการใช้งานใน Blynk Server
เราสามารถใช้งาน Blynk Application ในการสร้าง Interface สำหรับการควบคุมหรือแสดงผล อุปกรณ์ IoT ต่างๆ ได้หลากหลาย Project โดยสามารถดาวน์โหลด Application ได้ที่
หลังจากทำการดาวน์โหลด Blynk Application และติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิด Application ขึ้นมา และคลิกที่ Create New Account
Blynk คืออะไร
Blynk Platform ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ Internet of Things ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมจากระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และยังสามารถแสดงผลค่าจากเซนเซอร์ต่างๆ ได้อีกด้วย